1.เทรนด์ในอนาคตจะเป็นอย่างไร?
- อาหารสุขภาพมาแรง เชื่อว่าอีก 5 ปีข้างหน้า เทรนด์อาหารสุขภาพ เช่น ผักออร์แกนิคจะเป็นที่นิยมมากขึ้นในกลุ่มคนที่รักสุขภาพ
- รถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าจะมีคนหันมาใช้มากขึ้น เพราะฉะนั้นห้างสรรพสินค้าก็อาจจะมีที่จอดสำหรับชาร์จแบตเพื่ออำนวยความสะดวกของผู้ใช้บริการ
- มอเตอร์ไซค์รับจ้าง, Grab จะมีจำนวนมากขึ้น คนไม่ต้องขับรถออกไปซื้ออาหารด้วยตัวเองอีกต่อไป ส่งผลให้ร้านค้าไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้านก็สามารถขายของได้
- อสังหาฯ แนวราบจะขายดีขึ้น ธุรกิจที่เกี่ยวกับบ้าน เช่น บริษัทที่เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัย คนสวน รปภ. ก็จะได้รับความนิยม
- เครือข่ายของรถไฟฟ้าจะขยายตัวเข้าถึงในหลายพื้นที่ ทำให้สถานที่ใกล้รถไฟฟ้ามีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นและอยู่ใกล้กับที่ทำงานทำให้การเดินทางมีความสะดวกและรวดเร็ว
- ร้านค้าออนไลน์จะมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างมาก เนื่องจากความสะดวกสบายของการขนส่งและการเก็บ Stock ของ และผู้บริโภคจะหันมาใช้จ่ายแบบไร้เงินสดมากขึ้น
2.จะเลือกทำอะไร?
ZERO TO ONE
- ทำสิ่งที่เรารู้อยู่แล้ว คือการสร้างแบบ 1 to n
- ทุกครั้งที่เราสร้างสิ่งใหม่ ๆ เราจะสร้างแบบ 0 to 1
- ถ้าเราไม่ลงทุนทำในสิ่งที่ยากเพื่อพัฒนาสิ่งใหม่ บริษัทจะล้มเหลวในอนาคต ไม่ว่าในปัจจุบันจะมีกำไรมากเท่าไหร่ก็ตาม
- การผูกขาด (Monopoly) เป็นเงื่อนไขสำคัญสำหรับธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- การผูกขาดอย่างสร้างสรรค์ (Creative Monopoly) ช่วยสร้างสินค้าจำนวนมาก (Greater Abundance) ไม่ใช่สร้างความขาดแคลนอย่างปลอม ๆ (Artificial Scarcity) เช่น Alibaba.com, ebay, airbnb, PayPal เป็นต้น
- การผูกขาด จะช่วยให้เราสามารถทำงานวิจัย และสร้างสิ่งใหม่ ๆ ได้ (Innovation)
- บริษัทที่ประสบความสำเร็จมีความแตกต่างกัน แต่ละรายมักจะมีการผูกขาด (Monopoly) สำหรับปัญหาแต่ละแบบ
- บริษัทที่ล้มเหลวทั้งหมดเหมือนกัน คือไม่สามารถหนีการแข่งขันที่รุนแรงได้
Globalization
- คนส่วนใหญ่คิดว่าอนาคตของโลกจะถูกกำหนดด้วย Globalization แต่ในความเป็นจริงแล้ว Technology สำคัญมากกว่า
- ในโลกที่มีทรัพยากรจำกัด In Globalization โดยไม่มี New Technology จะไม่สามารถอยู่ได้อย่างยั่งยืน
ประเทศไทย
- ปัจจุบันเป็นผู้ผลิตรถยนต์อันดับ 1 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอันดับ 12 ของโลก และมีโรงงานประกอบรถยนต์ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย 18 บริษัท
- เป็นผู้ผลิต Hard Disk Drive อันดับ 1 ของโลก (40% ของการผลิตทั่วโลก) มีผู้ผลิตหลักคือ Seagate, Western, Digital, Hatachi และ Toshiba
3.ทักษะอะไรที่จำเป็นสำหรับอนาคต?
- มีความอยากรู้อยากเห็น Curiosity
- อยากเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ Not accepting the default
- มีการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม Balancing rick portfolio
- มีประสบการณ์ทั้งด้านกว้างและด้านลึก Combination of borad and deep experience
4.จะก้าวต่อไปอย่างไร?
The Seven Winning Strategies
- Technology Propelled ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม
- Hyper Releven ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า ณ เวลานั้น
- Data Driven วิเคราะห์ Insights ใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ
- Asset Smart ใช้ทรัพย์สินอย่างฉลาด การจัดการ Inventory การ Outsourece การใช้ Cloud Computing
- Inclusive ทำงานร่วมกับ Stakehoders ทั้งหมด ให้ความสำคัญกับส่วนรวม SDG
- Talent Rich หาคนเก่งมาร่วมงาน รวมทั้งการ Outsourece Workforces
- Network Powered ใช้การเชื่อมโยงเปลี่ยนแปลงจากการขายของครั้งเดียวเป็นบริการต่อเนื่อง
5.เราถูก Disrupt ด้วยอะไร?
หัวใจที่จะ Disrupt ธุรกิจ คือ
- เทคโนโลยี (เป็นไปได้)
- ธุรกิจ (อยู่รอด)
- ลูกค้า (ต้องการ)
ทั้ง 3 ข้อนี้จะเข้ามา Disrupt ไม่ใช่อย่างใดอย่างหนึ่งมันคือนวัตกรรมที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างพลิกผัน ส่วนใหญ่จะเป็นรูปแบบทางธุรกิจใหม่ (New Business Model) มากกว่าการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ และเป็นสิ่งที่เกิดยากสำหรับบริษัทใหญ่ที่เติบโตดีอยู่แล้ว เพราะยึดติดกับรูปแบบทางธุรกิจ (Business Model) แบบเดิม
6.คิดหาคำตอบอย่างไร?
Design Thinking จะช่วยให้เราเข้าใจลูกค้าและทำ Product ให้ดีขึ้น
- เข้าใจผู้ใช้ (Empathize) ลงไปสัมผัสชีวิตจริงว่าพวกเขาเป็นอย่างไร จะได้มองเห็นถึงปัญหาโครงสร้างได้อย่างถูกจุด
- ระบุโจทย์ (Define) เรามักเอาคำตอบมาใส่ไว้ในโจทย์โดยไม่รู้ตัว จึงต้องปรับมุมมองปัญหา (Reframe Problems)
- คิดหาคำตอบ (Ideate) ไม่ใช่แค่ CEO เป็นคนคิดแต่ต้องเอาลูกน้องในทีมมาช่วยกันคิด สุดท้ายได้ไอเดียในการหาคำตอบและทุกคนจะรู้สึกว่าเป็นนโยบายของตัวเอง
- ทำแบบจำลอง (Prototype) ไปฝึกงาน ไปหาประสบการณ์ใหม่ ๆ ลองไปเป็นลูกจ้างเขาก่อนแล้วสุดท้ายจะรู้ว่าต้องการแบบนั้นจริง ๆ หรือไม่
- ทดสอบ (Test) ลองทำแบบจำลองง่าย ๆ เท่าที่จำเป็น (Minimum Viable Product) หลายคนอยากทำให้ทุกอย่างดีทีเดียวแต่ยังไม่เคยได้ทดสอบกับลูกค้าก่อน ดังนั้น ควรที่จะทดสอบดูผลตอบรับ ปรับปรุงจนมั่นใจแล้วจึงทำของจริง
อ้างอิง :
- ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ – ในหลักสูตรเอฟเต้ รุ่นที่ 9 ปี 2022 หัวข้อ New Era for Entrepreneur